• เผยแพร่เมื่อ: วันจันทร์, 13 มกราคม 2563 19:37

เยื่อแก้วหูทะลุ

    เกิดจาก การติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษาจนมีการทำลายกระดูกกกหู และอาจมีภาวะที่เยื่อบุผิวชั้นนอกมารวมกับเยื่อบุผิวที่ลอกหลุด เข้าไปสะสมอยู่ในหูชั้นกลาง

 

การรักษา

  1. ลดการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะ และผ่าตัดเข้าไปเอาหนองและเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออก
  2. ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยระวังไม่ให้น้ำเข้าหูและผ่าตัดซ่อมแซมเยื่อแก้วหูที่ทะลุให้ปิด
  3. แก้ไขการสูญเสียการได้ยิน โดยการผ่าตัดของ กระดูกกกหู อาจร่วมกับการผ่าตัดตกแต่งเยื่อแก้วหู

 

 

การผ่าตัดตกแต่งเยื่อแก้วหู  

     เป็นการแก้ไขการได้ยินให้ดีขึ้น  โดยเปิดแผลผ่าตัดรูปโค้ง (แผลยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร) ที่ด้านหลังใบหูข้างที่จะทำผ่าตัด ทำการซ่อมแซมเยื่อแก้วหูที่ฉีกขาด โดยนำเนื้อเยื่ออ่อนมาทดแทนเยื่อแก้วหูเดิม ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3 ชั่วโมง

การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางหู
     1. การซักประวัติ
แพทย์จะถามถึงอาการปวดหู ลักษณะของเหลวที่ไหลออกมาจากรูหู อาการหูอื้อ การได้ยินเสียงลดลง เป็นข้างไหน เป็นมานานเท่าไหร่ มีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคหูมาก่อน การมีเสียงดังในหู เคยได้ยาอะไรมาบ้าง มีอาการเวียนศีรษะเป็นบ่อยแค่ไหน เคยมีประวัติเป็นโรคอะไรบ้าง

  1. การตรวจหู    แพทย์จะดูและคลำบริเวณหน้าและหลังหู ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ แล้วตรวจช่องหู โดยใช้ไม้พันสำลีกดเบาๆ ที่หู ถ้าตรวจหูแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ อาจมีการตรวจศีรษะ คอ และช่องปากเพิ่มเติม
  2.  การตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือ  เพื่อทดสอบความสามารถในการได้ยินเสียง     ความ

สามารถในการใช้คำพูด และ ตำแหน่งของโรค

  

การเตรียมร่างกายผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัด

  1. งดน้ำงดอาหารสำหรับผู้ป่วยที่แพทย์วางแผนให้ดมยาสลบ
  2. งดยาละลายลิ่มเลือด 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  3. สระผม  1 วัน ก่อนผ่าตัด

 

การระงับความรู้สึก

  1. การฉีดยาชาในรูหู
  2. การดมยาสลบ

 

การดูแลหลังผ่าตัด

  1. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีวัสดุห้ามเลือดใส่อยู่ในรูหู แพทย์จะมาดูแผล และเอาออกให้  หรืออาจคาไว้ก่อนและนัดให้มาเอาออกภายหลัง
  2. ให้ผู้ป่วยเคี้ยวอาหารด้านตรงข้ามที่ทำผ่าตัด เช่น ผ่าหูซ้ายให้เคี้ยวอาหารด้านขวา
  3. หลังผ่าตัด 24 ชม. ให้นอนศีรษะสูง โดยนอนหงายหรือนอนตะแคงข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัด ถ้าไม่อาเจียนให้หนุนหมอนได้
  4. รับประทานยาฆ่าเชื้อตามแผนการรักษา ถ้าปวดให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวดได้
  5. ห้ามสั่งน้ำมูกนาน 1-2 สัปดาห์
  6. ควรเปิดปากเวลาไอ จาม
  7. ห้ามทำงานหนัก หรือยกของหนัก
  8. งดออกแรง ก้มเงย นาน 2-3 สัปดาห์
  9. งดสระผม 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  10. อาจมีน้ำเหลืองใสออกจากหูได้ แต่ถ้าเป็นหนองควรมาพบแพทย์ทันที
  11. ถ้าจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบินควรปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทาง

 

คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล

  • ควรสัมผัสให้รู้ตัวล่วงหน้าก่อนพูดด้วย
  • เลือกพูดในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • พูดช้าๆ ชัดเจน ไม่ต้องตะโกน
  • แสดงท่าทางประกอบ
  • ให้ผู้ป่วยเห็นหน้า อ่านริมฝีปาก
  • เลือกใช้คำพูดไม่ยาว
  • ไม่แสดงท่าทางเบื่อหน่าย

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้น

  • อาการเวียนศีรษะ
  • การอักเสบของกระดูกหลังหู หูชั้นในอักเสบ
  • ใบหูชา หูกาง ช่องหูตีบ
  • ลิ้นไม่รู้รส
  • อัมพาตของใบหน้า เช่น อาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท ชาที่หน้า ถ้ามีต้องรีบรายงานแพทย์
  • เมื่อกลับบ้านไปแล้ว สังเกตพบอาการของภาวะหูน้ำหนวกเรื้อรัง ได้แก่ หูอื้อ การได้ยินลดลง หนองไหลจากหู หนองมีกลิ่นเหม็น มีไข้ ปวดศีรษะ ซึมลง ให้

รีบมาพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน  โรงพยาบาลลำปาง  ก่อนวันนัดได้