• เผยแพร่เมื่อ: วันจันทร์, 13 มกราคม 2563 19:47

ตาเหล่ (ตาเข)

หมายถึง การที่แกนสายตาของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเบนออกไปจากแนวปกติ จากกล้ามเนื้อของลูกตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน ภาพของวัตถุไม่ตกมาตรงกลางลูกตาพอดี  ทำให้ไม่สามารถมองไปที่วัตถุเดียวกันได้

 

สาเหตุของตาเหล่ที่พบบ่อย

  1. 1. เป็นโรคทางกรรมพันธุ์
  2. 2. เกิดจากมีสายตาที่ผิดปกติ
  3. 3. มีโรคในตาข้างใดข้างหนึ่ง
  4. 4. มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เด็กปัญญาอ่อน หรือเด็กที่มีพัฒนาการร่างกายช้า
  5. 5. เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอกในสมอง
  6. กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต

 

ชนิดของตาเหล่

จำแนกตามทิศทางที่ตาเหล่ ได้แก่

อาการของตาเหล่

- มองเห็นตาเฉออกชัดเจน

- ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกัน

- กระพริบตาบ่อยโดยเฉพาะแสงจ้าๆ

- เอียงคอเวลามอง

- กะระยะผิด

- เห็นภาพซ้อน

 

การรักษาตาเหล่

        มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและชนิดของตาเหล่พอสรุปได้ดังนี้

1.ประกอบแว่นสายตา แก้ไขสภาพที่ผิดปกติของสายตา

2.การหยอดยา

3.การฝึกกล้ามเนื้อตา

  1. ให้สวมแว่นปริซึม
  2. ผ่าตัดกล้ามเนื้อของลูกตา

 

การผ่าตัดรักษาตาเหล่

      เป็นการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อของลูกตาตาเพื่อ

  • ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดมีแรงดึงตัวหรือแรงมากขึ้น
  • ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดมีแรงดึงตัวหรือแรงลดลง

 

การเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

- งดอาหารและน้ำตามคำสั่งแพทย์

- ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป

- ถอดฟันปลอมและของมีค่าก่อนไปห้องผ่าตัด

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

- แนะนำให้ผู้ป่วยปิดตา 1 วัน แพทย์จะเปิดตาในวันถัดไป เช็ดตาด้วยน้ำอุ่น หยอดยาหรือป้ายยาตามแพทย์สั่ง

- ในบางรายที่ปิดตาไม่ได้ เช่น เป็นผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปิดตา แพทย์อาจพิจารณาไม่ต้องปิดตาหลังผ่าตัดได้

- ดูแลและระมัดระวังไม่ขยี้ตา

 

ผู้ป่วยและญาติสอบถามสิ่งต่างๆที่ไม่แน่ใจหรือสงสัย ได้ที่ ห้องผ่าตัดจักษุ โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง

 

คำแนะนำก่อนกลับบ้าน

  1. หลีกเลี่ยงน้ำเข้าตา การสระผมควรให้ผู้อื่นสระให้ก่อนเพื่อป้องกันน้ำเข้าตา 1 เดือน
  2. หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
  3. พักผ่อนสายตาบ่อยๆ ไม่ควรใช้สายตาหนักเกินไป ช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
  4. หยอดยาและป้ายยาตามแพทย์สั่ง
  5. อาหาร รับประทานได้ทุกชนิด ไม่มีของแสลง
  6. การทำงาน สามารถทำงานได้ตามปกติ
  7. การออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายได้ แต่ว่ายน้ำควรงดไว้ก่อน
  8. เน้นให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง และอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด เช่น อาการปวดตามาก  ตาแดง  มีน้ำตาไหล  มีสิ่งคัดหลั่งคล้ายหนอง  การมองเห็นเปลี่ยนแปลง