• เผยแพร่เมื่อ: วันจันทร์, 13 มกราคม 2563 20:25

        คือ การผ่าตัดแนวใหม่ โดยใช้กล้องวีดีโอขนาดเล็กสอดเข้าไปในข้อและต่อสัญญาณเข้ากับจอภาพทีวี ทำให้เห็นส่วนต่างๆ ภายในข้อได้อย่างชัดเจน บาดแผลมีขนาดเล็ก 0.5 cms. เพียง 1-2 แผลที่เกิดจากการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง   โดยความเจ็บปวดหลังผ่าตัด   จะน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ระยะเวลานอนในโรงพยาบาลสั้น  การพักฟื้นและการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดจะง่ายและได้ผลดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า  

เอ็นไขว้หน้าเป็นเอ็นยึดข้อเข่าที่สำคัญภายในเข่า ช่วยให้เข่ามีความมั่นคงในการบิดหรือหมุนข้อเข่า คนที่ไม่มีเอ็นไขว้หน้าเมื่อบิดเข่าจะเกิดอาการปวดเข่า การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า มักจะสัมพันธ์กับชนิดกีฬาที่เล่นมากกว่า เช่น ฟุตบอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล      

อาการและอาการแสดง                                                                 

    - ปวดบวมบริเวณข้อเข่า                                        

    - กดเจ็บบริเวณที่เอ็นฉีก บริเวณแนวข้อ ซึ่งเป็นตำแหน่งของหมอนรองข้อเข่า                                               

    - เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือเดินแล้วปวดเสียวมากผิดปกติ                                                          

    - การงอเหยียดเข่าไม่ได้ เข่าติดในท่าใดท่าหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดหมอนรองข้อเข่าขาดไป

ความรุนแรงของการฉีกขาดของเอ็นแบ่งเป็น  3 ระดับ
ระดับที่ 1 มีการฉีกขาดบางเส้นใยของเส้นเอ็น และมีเลือดออกเล็กน้อย เส้นเอ็นไม่เสียความแข็งแรง ให้รักษาตามอาการ                                                        

ระดับที่ 2  มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นบางส่วน มีอาการเดินลำบาก ปวด บวม มีรอยเขียวช้ำชัดเจน   สัปดาห์ที่ 2 - 3 จะค่อยๆ ยุบบวม 

 ระดับที่ 3  มีการฉีกขาดของเอ็น หรือ ที่ๆ เอ็นเกาะกับกระดูกทำให้มีการหลวมหลุดของข้อต่อ  การรักษาต้องอาศัยการผ่าตัดซึ่งมีหลายแบบตั้งแต่ผ่าตัดเย็บซ่อมและการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นใหม่        

การวินิจฉัย                                                                      

  1. จากประวัติ เช่น ลักษณะของอุบัติเหตุ ลักษณะ

ท่าทาง ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ อาการปวด ระยะเวลาที่มีอาการ การรักษาที่ผ่านมา ฯลฯ                                                          

  1. การตรวจร่างกาย ตำแหน่งที่กดเจ็บ บวม การ

ตรวจด้วยวิธีหมุนเข่า งอ เหยียด ท่าตรวจเฉพาะของเส้นเอ็นแต่ละเส้น และ หมอนรองกระดูก เป็นต้น                          

  1. การตรวจพิเศษอื่นๆ ได้แก่ เอกซเรย์ ( X-ray) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษา
        ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ กิจกรรมในการดำเนินชีวิต ชนิดจำนวนเส้นเอ็นที่ขาด การบาดเจ็บอื่นร่วม ฯลฯ การรักษาอาจทำได้ดังนี้
     -  ทำกายภาพบำบัด ใส่อุปกรณ์พยุงเข่า ให้ยารับประทาน
     -  การผ่าตัดเปิดจะมีแผลบริเวณเข่าประมาณ 5-10 cms.

     -  การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic)

การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด                                                            

  1. ถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด ต้องแจ้งแพทย์ หรือพยาบาลก่อนผ่าตัด และต้องงดยาก่อนผ่าตัด 7-10 วัน หรือตามคำสั่งแพทย์
  2. ถ้ามีประวัติแพ้ยา ยาชาหรือสารเคมี ต้องแจ้งแพทย์ หรือพยาบาลก่อนผ่าตัด
  3. ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซ์เรย์ ตรวจคลื่นหัวใจ เพื่อตรวจดูความพร้อมของร่างกายก่อนผ่าตัด
  4. เตรียมความสะอาดร่างกาย เช่น อาบน้ำ สระผมตัดเล็บและงดการใช้ครีม/เครื่องสำอางทุกชนิด                                                                              
  5. ถอดของมีค่าต่างๆ การถอดฟันปลอมเพื่อป้องกันการหลุดของฟันปลอมเข้าไปอุดหลอดลม ขณะผ่าตัด 
  6. งดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืน ก่อนวันผ่าตัดหรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ                                                                               

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

    -  ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5หมู่                

    - รับประทานยาตามแพทย์สั่ง                                                   

    - สังเกตอาการผิดปกติ เช่น แผลอักเสบ บวมแดง มีหนอง มีไข้สูง ปวดขามากขาบวม ให้รีบมาพบแพทย์                                                                   

    - มาตรวจตามแพทย์นัด

          การผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า สามารถแก้ปัญหาข้อเข่าหลวมได้ แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน เพื่อให้เส้นเอ็นใหม่แข็งแรงพอที่จะกลับมาวิ่ง หรือเล่นกีฬาได้

   อย่างไรก็ตามหลังผ่าตัดแล้ว ต้องหมั่นทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ (ดังภาพ) ผลการรักษาจึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด