- เผยแพร่เมื่อ: วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2562 11:05
การได้รับการเจ็บบริเวณใบหน้ามักจะเกิดจากแรงที่มากระแทกบริเวณใบหน้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- แรงจากความเร็วสูง เช่น อุบัติเหตุจากรถยนต์ หรือจากอาวุธปืน อันตรายจากแรงความเร็วสูงมักมีรุนแรง เกิดผลกระทบต่ออวัยวะหลายอย่าง เช่น สมอง อวัยวะช่องท้อง ทรวงอก รวมถึงแขน ขา
- แรงจากความเร็วต่ำ เช่น การหกล้ม หรือถูกชน แรงจากความเร็วต่ำมักจะเป็นเฉพาะกับบริเวณนั้น อวัยวะส่วนอื่นอาจไม่ถูกกระทบกระเทือน
พยาธิสภาพ
เมื่อมีแรงมากระแทกกระดูกโหนกแก้มแรงจะกระจายไปตามรอยต่างๆ กระดูกส่วนใดจะหักก็ ขึ้นอยู่กับความทนทานของส่วนนั้นๆ ถ้ามีการแตกหักมักจะเกิดบริเวณรอยต่อ หรือมีการหักร่วมกับกระดูกอื่นๆ
อาการและอาการแสดง
- บวมที่เปลือกตาและโหนกแก้ม
- เลือดออกใต้เยื่อบุตา จมูก
- ช่องระหว่างตาแคบลง
- ขอบตาด้านข้างตกลงล่าง โหนกแก้มยุบ
- เห็นภาพซ้อน และตาบุ๋ม
- อ้าปากลำบาก
- ปวดชา ที่แก้มและริมฝีปากบน
การตรวจและวินิจฉัย
1.ซักประวัติ
2.ตรวจร่างกายโดยการคลำ
3.การตรวจด้วยภาพรังสีได้แก่ X – Ray และ การทำ CT scan
การรักษา
- Conservative ทำในรายที่ไม่มีการเคลื่อนของรอยแตกหรือข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด
- การผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่ (Open Reduction)
- การผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่แล้วยึดติดด้วยลวด ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และลักษณะของบริเวณที่แตกหัก
วิธีผ่าตัดที่นิยมทำมี 3 วิธี
- การผ่าตัดเข้าทางขมับ
2. การผ่าตัดเข้าทางหางคิ้ว
3. การผ่าตัดทางปาก