Home
การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท
- รายละเอียด
- หมวด: Uncategorised
- เผยแพร่เมื่อ: วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2562 11:08
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 2327
สาเหตุของโรค
- รูปร่างท่าทางไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น คนอ้วนลงพุงการหมุนบิดตัวขณะก้มยกของ
- หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
- หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูน
- ความเสื่อมของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่หุ้มกระดูกสันหลัง
อาการของโรค
- อาการปวดตามเส้นประสาท มักปวดสะโพกร้าวลงทางด้านหลังต้นน่องถึงปลายเท้า
- อาการมึนหรือชาบริเวณขา เหมือนเป็นเหน็บชา
- อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
- ในรายที่มีอาการมาก อาจเกิดปัญหาของระบบขับถ่าย เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นอุจาระไม่ได้
การรักษา
- การรักษาด้วยการรับประทานยา
- การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
- การรักษาโดยการฉีดยาระงับการอักเสบที่เส้นประสาท
- การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท
เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่ตีบรัดเส้นประสาท เช่นกระดูกและพังผืดตรงตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดและชานั้นออก
การตรวจวินิจฉัย
- การฉีดสารทึบรังสีเข้าช่องไขสันหลัง
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- การตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสี
ทั้งนี้แพทย์ที่ทำการรักษา จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายไป
ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่เดินเพียงระยะสั้น ๆ ประมาณ 50-100 เมตร แล้วปวดจนต้องหยุดพัก
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ไหว ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ลำบาก
- ผู้ป่วยที่มีอาการชาและอ่อนแรงอย่างชัดเจนของขา
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติ จากการกดทับเส้นประสาท
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดที่ถูกต้องจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผ่าตัด
- ผู้ป่วยลงนามในใบยินยอมรับการผ่าตัด
- การทำความสะอาดร่างกาย งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
- การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด
- การเตรียมเลือด 1-2 ยูนิต
- ถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด หรือยาแอสไพรินต้องหยุดยาก่อนผ่าตัด 7 วันต้องแจ้งแพทย์ พยาบาลก่อนผ่าตัด
- พยาบาลที่หอผู้ป่วย จะใส่สายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยก่อนที่จะส่งมาห้องผ่าตัด
ท่านจะพบอะไรที่ห้องผ่าตัด
เมื่อถึงห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะหยุดรออยู่ที่จุดรอผ่าตัดประมาณ 30 นาที ซึ่งญาติ สามารถเข้ามาดูแล หรือให้กำลังใจท่านได้ไม่เกิน 2 คน โดยมีพยาบาลห้องผ่าตัดคอยดูแลท่านระหว่างรอผ่าตัด เมื่อใกล้เวลาผ่าตัด เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดจะนำท่านเข้าไปยังห้องผ่าตัด จากนั้นท่านจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยดมยาสลบโดยทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาล
ท่านจะพบสิ่งใดบ้างหลังผ่าตัด
มีบาดแผลบริเวณบั้นเอวด้านหลัง มีสายระบายเลือดต่อจากแผลผ่าตัดซึ่งจะใส่ไว้ประมาณ 1-2 วัน และคาสายสวนปัสสาวะไว้ประมาณ 2-3 วันจนกว่าผู้ป่วยจะเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้
ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรในวันแรกหลังผ่าตัด
ให้นอนราบทับแผลผ่าตัด หรือนอนตะแคงซ้าย/ขวา โดยพลิกลำตัวพร้อมกันทั้งตัว ไม่บิดหรือเอียงลำตัว การผ่าตัดที่ได้รับการดมยาสลบหลังผ่าตัดควรบริหารปอดโดยการสูดหายใจเข้าออกแรงๆ หรือเป่าลูกโป่งให้ปอดขยายตัว ป้องกันภาวะปอดแฟบ
ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัด
- ควรสวมอุปกรณ์พยุงเอวทุกครั้ง เมื่อลุกนั่ง ยืน เดิน อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
- ควรนั่งนานไม่เกินครั้งละ 45 นาที ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
- ไม่ควรบิดหรือเอี้ยวตัวแรงๆ 6-8 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
- ไม่ขึ้นบันไดเกิน 2 ครั้งต่อวัน ภายใน 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
- ควรใช้ส้วมชักโครก หรือ เก้าอี้เจาะรูในการขับถ่าย
อิริยาบถต่างๆ เพื่อป้องกันอาการปวดหลังซ้ำ
ท่านอนหงาย : หนุนหมอนพอรู้สึกสบาย ใช้หมอนรองใต้เข่าทั้งสองข้าง ให้งอเข่าเล็กน้อย
ท่าลุกจากที่นอน : ควรลุกช้าๆ ค่อยๆ เลื่อนตัวชิดขอบเตียง และตะแคงตัว งอเข่าและสะโพก ใช้ฝ่ามือและศอกยันที่นอนดันตัวให้ลุกขึ้น พร้อมกับหย่อนเท้าลงแตะพื้น ขณะทำต้องให้หลังตรง
การลงนอน : ให้นั่งบนเตียง เอนตัวลงช้าๆ ใช้มือและข้อศอกยันกับพื้นเตียง ไหล่แตะพื้นเตียงซึ่งอยู่ในท่าตะแคง แล้วเปลี่ยนเป็นนอนหงาย
ท่านั่งเก้าอี้ : ควรใช้เก้าอี้พอดีกับตัวผู้นั่ง นั่งหลังตรงพิงพนักเก้าอี้เต็มที่ เท้าวางกับพื้นพอดี
การลุกจากที่นั่ง : โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มือยันพื้นเก้าอี้หรือพนักแขน ดันตัวขึ้นช้าๆ หลังตรง การนั่งลงให้ทำเช่นเดียวกัน โดยย้อนทางกับการลุก
การนั่งกับพื้น : ไม่ควรนั่งพับเพียบ เพราะเป็นท่าที่ร่างกายอยู่ในภาวะเสียสมดุลมาก เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ควรขยับเปลี่ยนท่าบ่อยๆ และนั่งหลังตรงจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้สมดุล ท่านั่งขัดสมาธิจะมีภาวะสมดุลต่อหลัง และท่านั่งยองๆ ช่วยผ่อนคลายอาการปวดหลัง
ท่ายืน : ต้องหลังตรง เก็บคางแขม่วท้อง หย่อนก้น ให้ยืนหย่อนขาเล็กน้อย ไม่ควรยืนนานเกิน 30 นาที
การเดิน : เดินตัวตรง ก้าวขาด้วยความมั่นคง แกว่งแขนเล็กน้อย สวมรองเท้าสบายๆ ไม่สวมรองเท้าส้นสูง
การยกของจากพื้น : ย่อเข่าให้หลังตรงเสมอแล้วหยิบของ แล้วค่อยๆ เหยียดข้อเข่าและสะโพกขึ้นมาในลักษณะหลังตรง ถือของให้ชิดลำตัวเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง
การหิ้วของ : ถ้าของหนักมากควรแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน และหิ้วสองมือ
ท่าบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ