เกิดข้อผิดพลาด
  • เทมเพลตที่ใช้แสดงผลในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์กรุณาติดต่อผู้ดูแล

Home

การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท

สาเหตุของโรค

  1. รูปร่างท่าทางไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น คนอ้วนลงพุงการหมุนบิดตัวขณะก้มยกของ
  2. หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
  3. หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูน
  4. ความเสื่อมของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่หุ้มกระดูกสันหลัง

 

อาการของโรค

  1. อาการปวดตามเส้นประสาท มักปวดสะโพกร้าวลงทางด้านหลังต้นน่องถึงปลายเท้า
  2. อาการมึนหรือชาบริเวณขา เหมือนเป็นเหน็บชา
  3. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
  4. ในรายที่มีอาการมาก อาจเกิดปัญหาของระบบขับถ่าย เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นอุจาระไม่ได้

 

การรักษา

  1. การรักษาด้วยการรับประทานยา
  2. การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
  3. การรักษาโดยการฉีดยาระงับการอักเสบที่เส้นประสาท
  4. การรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การผ่าตัดกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท

เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่ตีบรัดเส้นประสาท เช่นกระดูกและพังผืดตรงตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดและชานั้นออก

 

การตรวจวินิจฉัย

  1. การฉีดสารทึบรังสีเข้าช่องไขสันหลัง
  2. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  4. การตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

 ทั้งนี้แพทย์ที่ทำการรักษา  จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม   ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายไป

 

ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยที่เดินเพียงระยะสั้น ๆ ประมาณ 50-100 เมตร แล้วปวดจนต้องหยุดพัก
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ไหว ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ลำบาก
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการชาและอ่อนแรงอย่างชัดเจนของขา
  4. ผู้ป่วยที่มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติ จากการกดทับเส้นประสาท

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดที่ถูกต้องจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยลงนามในใบยินยอมรับการผ่าตัด
  2. การทำความสะอาดร่างกาย งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  3. การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด
  4. การเตรียมเลือด 1-2 ยูนิต
  5. ถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด หรือยาแอสไพรินต้องหยุดยาก่อนผ่าตัด 7 วันต้องแจ้งแพทย์ พยาบาลก่อนผ่าตัด
  6. พยาบาลที่หอผู้ป่วย จะใส่สายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยก่อนที่จะส่งมาห้องผ่าตัด

 

ท่านจะพบอะไรที่ห้องผ่าตัด

เมื่อถึงห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะหยุดรออยู่ที่จุดรอผ่าตัดประมาณ 30 นาที ซึ่งญาติ สามารถเข้ามาดูแล หรือให้กำลังใจท่านได้ไม่เกิน 2 คน โดยมีพยาบาลห้องผ่าตัดคอยดูแลท่านระหว่างรอผ่าตัด   เมื่อใกล้เวลาผ่าตัด เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดจะนำท่านเข้าไปยังห้องผ่าตัด จากนั้นท่านจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยดมยาสลบโดยทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาล

 

ท่านจะพบสิ่งใดบ้างหลังผ่าตัด

มีบาดแผลบริเวณบั้นเอวด้านหลัง มีสายระบายเลือดต่อจากแผลผ่าตัดซึ่งจะใส่ไว้ประมาณ 1-2 วัน และคาสายสวนปัสสาวะไว้ประมาณ 2-3 วันจนกว่าผู้ป่วยจะเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้

 

ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรในวันแรกหลังผ่าตัด

ให้นอนราบทับแผลผ่าตัด หรือนอนตะแคงซ้าย/ขวา โดยพลิกลำตัวพร้อมกันทั้งตัว ไม่บิดหรือเอียงลำตัว การผ่าตัดที่ได้รับการดมยาสลบหลังผ่าตัดควรบริหารปอดโดยการสูดหายใจเข้าออกแรงๆ หรือเป่าลูกโป่งให้ปอดขยายตัว ป้องกันภาวะปอดแฟบ

 

ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัด

  1. ควรสวมอุปกรณ์พยุงเอวทุกครั้ง เมื่อลุกนั่ง ยืน เดิน อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
  2. ควรนั่งนานไม่เกินครั้งละ 45 นาที ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
  3. ไม่ควรบิดหรือเอี้ยวตัวแรงๆ 6-8 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
  4. ไม่ขึ้นบันไดเกิน 2 ครั้งต่อวัน ภายใน 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
  5. ควรใช้ส้วมชักโครก หรือ เก้าอี้เจาะรูในการขับถ่าย

 

อิริยาบถต่างๆ เพื่อป้องกันอาการปวดหลังซ้ำ

ท่านอนหงาย : หนุนหมอนพอรู้สึกสบาย ใช้หมอนรองใต้เข่าทั้งสองข้าง ให้งอเข่าเล็กน้อย

ท่าลุกจากที่นอน : ควรลุกช้าๆ ค่อยๆ เลื่อนตัวชิดขอบเตียง และตะแคงตัว งอเข่าและสะโพก ใช้ฝ่ามือและศอกยันที่นอนดันตัวให้ลุกขึ้น พร้อมกับหย่อนเท้าลงแตะพื้น ขณะทำต้องให้หลังตรง

การลงนอน : ให้นั่งบนเตียง เอนตัวลงช้าๆ ใช้มือและข้อศอกยันกับพื้นเตียง ไหล่แตะพื้นเตียงซึ่งอยู่ในท่าตะแคง แล้วเปลี่ยนเป็นนอนหงาย

ท่านั่งเก้าอี้ : ควรใช้เก้าอี้พอดีกับตัวผู้นั่ง นั่งหลังตรงพิงพนักเก้าอี้เต็มที่ เท้าวางกับพื้นพอดี

การลุกจากที่นั่ง : โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มือยันพื้นเก้าอี้หรือพนักแขน ดันตัวขึ้นช้าๆ หลังตรง การนั่งลงให้ทำเช่นเดียวกัน โดยย้อนทางกับการลุก

การนั่งกับพื้น : ไม่ควรนั่งพับเพียบ เพราะเป็นท่าที่ร่างกายอยู่ในภาวะเสียสมดุลมาก เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ควรขยับเปลี่ยนท่าบ่อยๆ และนั่งหลังตรงจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้สมดุล ท่านั่งขัดสมาธิจะมีภาวะสมดุลต่อหลัง และท่านั่งยองๆ ช่วยผ่อนคลายอาการปวดหลัง

ท่ายืน : ต้องหลังตรง เก็บคางแขม่วท้อง หย่อนก้น ให้ยืนหย่อนขาเล็กน้อย ไม่ควรยืนนานเกิน 30 นาที

การเดิน : เดินตัวตรง ก้าวขาด้วยความมั่นคง แกว่งแขนเล็กน้อย สวมรองเท้าสบายๆ ไม่สวมรองเท้าส้นสูง

การยกของจากพื้น : ย่อเข่าให้หลังตรงเสมอแล้วหยิบของ แล้วค่อยๆ เหยียดข้อเข่าและสะโพกขึ้นมาในลักษณะหลังตรง ถือของให้ชิดลำตัวเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง

การหิ้วของ : ถ้าของหนักมากควรแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน และหิ้วสองมือ

 

ท่าบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ