งานอุบัติเหตุ และฉุกเฉินวิกฤต

เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ทั้งภาวะปกติ และภาวะภัยพิบัติ โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 4 โซน

  1. โซนคัดแยก (Triage)
  2. โซนผู้ป่วยวิกฤต (Resuscitation)
  3. โซนผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป (Non Trauma)
  4. โซนผู้ป่วยบาดเจ็บ (Trauma)
บริการห้องสังเกตอาการ (Observe Room)

                    เปิดให้บริการในช่วงเวลา 08.00 น.-24.00 น. ให้บริการผู้ป่วยนัดเติมเลือด ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และผู้ป่วยรับไว้สังเกตอาการจากห้องฉุกเฉิน และอยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อรับผู้ป่วยเชิงรุกด้านการรณรงค์ลดและห้องกันอุบัติเหตุทั่วไป และอุบัติเหตุทางท้องถนนร่วมกับภาครัฐและเอกชน  เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสาธรณภัยทั้งจากสถานการณ์อุบัติภัย และจากสถานการณ์โรคระบาด รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนในการให้ความรู้ในเรื่องภาวะฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาลและการใช้บริการห้องฉุกเฉินอย่างเหมาะสมในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ (TBI) ผู้ป่วยเหตุพิษแห่งการติดเชื้อ (Sepsis) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเฉียบพลัน (STEMI) เป็นต้น

บริการรับแจ้งเหตุผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดลำปาง (EMS)

บริการรับแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง  โดยจะมีการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนตามมาตรฐานการคัดแยกผู้ป่วยและส่งหน่วยปฏิบัติการในเครือข่ายให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุในจังหวัดลำปางทันที

หน่วยปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  1. ระดับ ALS มีแพทย์เป็นหัวหน้าทีม พยาบาลกู้ชีพ AEMT และ EMT
  2. ระดับ BLS มี EMT เป็นหัวหน้าทีม และ EMR
  3. ระดับ EMR มี EMR เป็นหัวหน้าที
บริการรับแจ้งเหตุผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดลำปาง (EMS)

ให้บริการรับส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ Thai Refer เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วย และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยในระบบส่งต่อในเครือข่ายบริการสุขภาพร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพียงแค่ป้อนหมายเลขประจำตัวของผู้ป่วย ซึ่งข้อมูลจะส่งมายังโรงพยาบาลปลายทางอัตโนมัติ ทำให้โรงพยาบาลปลายทางสามารถวางแผนรองรับผู้ป่วยได้ สามารถคำนวณระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะมาถึงได้ ซึ่งจะทำให้ระบบส่งต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้ป่วยวิกฤติ

  1. มีการเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วยเป็นระบบเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้ รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการเตรียมพร้อมรับผู้ป่วยล่วงหน้า โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยหนัก หรือ ผู้ป่วยช่องทางด่วนโรคสำคัญ อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
  3. การประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่น ลดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการสถานพยาบาลต่างๆ ทำให้ระยะเวลาการประสานงานสำเร็จภายใน 30 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 99.59
  4. มีระบบรายงานผลที่สามารถดึงข้อมูลได้อย่างง่าย สามารถนำไปพัฒนาวางแผนงานต่อได้
  5. ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ สามารถเก็บใน ฐานข้อมูล และพิมพ์เป็นใบส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว
  6. ลดความผิดพลาดในการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญ เช่น ข้อมูลพื้น ฐาน อาการสำคัญ ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ และการวินิจฉัย
  7. ลดความแออัดในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิ เนื่องจากมีการ ประสานงานล่วงหน้าผ่านโปรแกรม หากไม่จำเป็นต้องทำการส่งต่อผู้ป่วย จะให้คำแนะนำแก่แพทย์โรงพยาบาลต้นทางเพิ่มเติม
โรงพยาบาลลำปาง

280 ถนนพหลโยธิน
ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
โทร. 054-237400
FAX. 054-237444

บริการผู้ป่วย
ข่าวสาร/กิจกรรม

Copyright © 2023-2024 All rights reserved.