สาเหตุ
การหักที่ส่วนคอของกระดูกต้นขา หรือข้อสะโพก (Femoral Neck Fracture) มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุสูงเกิน 60 ปี สาหรับกลุ่มที่มีอายุน้อยนั้น การหักมักเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 90 เป็นผู้สูงอายุที่เกิดการลื่นล้ม ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุมีความสามารถในการควบคุมการทรงตัวของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ด้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีวัยหมดประจาเดือนจะพบปัญหาภาวะกระดูกพรุน และเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้กระดูกหักได้แม้ได้รับอุบัติเหตุไม่รุนแรง

 

ตำแหน่งของข้อสะโพก (Femoral Neck) และลักษณะรอยหัก

 

อาการของผู้ป่วย
ในกรณีของผู้ป่วยที่ส่วนคอของกระดูกต้นขาหักและชิ้นส่วนกระดูกที่หักมีการเคลื่อนออกจากกัน ผู้ป่วยจะไม่สามารถยืนหรือเดินได้ ขาจะดูสั้นลงและอยู่ในลักษณะบิดหมุนออกด้านนอก มีอาการเจ็บรอบๆ ข้อสะโพก หากขยับเขยื้อนจะทาให้ปวดมากขึ้น ในกรณีที่กระดูกหักแต่รอยหักไม่มีการเคลื่อนออกจากกัน ผู้ป่วยอาจสามารถยืนเดินได้บ้าง แต่จะมีอาการปวดขัดที่สะโพกหรือบริเวณต้นขา ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่เข่า

การตรวจวินิจฉัย
ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยโดยการถ่ายภาพรังสีบริเวณกระดูกเชิงกรานและข้อสะโพก เพื่อประเมินรอยหักและวางแผนการรักษา

วิธีทางการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
กรณีกระดูกหักแต่รอยหักไม่มีการเคลื่อนที่ การรักษาจะทาการยึดตรึงกระดูกที่หักโดยใช้สกรู กรณีกระดูกหักและรอยหักมีการเคลื่อนที่ เพื่อป้องกันปัญหารอยหักไม่ประสานติดกัน และหัวกระดูกขาดเลือดมาเลี้ยง จะต้องจัดชิ้นส่วนที่หักให้เข้าที่โดยเร็วและยึดตรึงด้วยวิธีที่เหมาะสม ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกพรุน การรักษาที่เหมาะสมคือการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนหัวของกระดูกต้นขาออก แล้วใส่ข้อสะโพกเทียมเข้าไปแทนที่ ซึ่งเป็นวัสดุประดิษฐ์ ทาจากโลหะใช้แทนหัวกระดูกต้นขาเดิม และนิยมยึดตรึงกับกระดูกต้นขาโดยใช้ซีเมนต์ยึดกระดูก

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดที่ถูกต้องจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผ่าตัด
1. การทำความสะอาดร่างกาย ก่อนผ่าตัด งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน และได้รับสารน้าทางหลอดเลือดดา
2. การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด
3. การเตรียมเลือด 1-2 ยูนิต
4. ถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน ให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาล ก่อนผ่าตัดต้องหยุดยาก่อนผ่าตัด 7 วัน

ท่านจะพบอะไรที่ห้องผ่าตัด
เมื่อถึงห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะหยุดรออยู่ที่จุดรอผ่าตัดประมาณ 30 นาที ซึ่งญาติ สามารถเข้ามาดูแล หรือให้กาลังใจท่านได้ไม่เกิน 2 คน โดยมีพยาบาลห้องผ่าตัดคอยดูแลท่านระหว่างรอผ่าตัด เมื่อใกล้เวลาผ่าตัด เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดจะนาท่านเข้าไปยังห้องผ่าตัด จากนั้นท่านจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หรือดมยาสลบโดยทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาล

ท่านจะพบสิ่งใดบ้างหลังผ่าตัด
มีบาดแผลบริเวณสะโพกข้างที่กระดูกหัก มีสายระบายเลือดต่อจากแผลผ่าตัดซึ่งจะใส่ไว้ประมาณ 1-2 วัน ส่วนสายสวนปัสสาวะจะคาไว้จนกว่าท่านจะลุกนั่งได้

ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรในวันแรกหลังผ่าตัด
ท่านที่ได้รับยาชาเข้าไขสันหลัง ควรนอนราบ (หนุนหมอนต่ำๆ) หรือนอนตะแคงหลังผ่าตัด 8 ชั่วโมง และสอดหมอนสามเหลี่ยมตลอดเวลาเพื่อป้องกันข้อสะโพกเคลื่อนหลุด หลังจากนั้นท่านสามารถปรับเตียงนอนให้หัวสูงได้ 30-45 องศาหากแพทย์เห็นสมควร ท่านที่ได้รับการดมยาสลบ ควรบริหารปอดโดยการสูดหายใจเข้าออกแรงๆ หรือเป่าลูกโป่งให้ปอดขยายตัว ป้องกันภาวะปอดแฟบ

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
1.ไม่ควรนั่งยองๆ คุกเข่า พับเพียบ หรือนั่งไขว่ห้าง
2.ไม่ควรยืนไขว้ขาไม่ก้มใส่รองเท้าเองไม่ก้มเก็บของที่พื้น
3.หลีกเลี่ยงการขี่จักรยาน ซ้อนมอเตอร์ไซด์ เพราะอาจทำให้สะโพกงอมากไป เสี่ยงต่อการเกิดข้อสะโพกเทียมหลุดได้
4.หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด หรือปะทะต่อสู้
5. ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ปลาตัวเล็กปลาตัวน้อย เต้าหู้ งาดา เป็นต้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก

ภาพตัวอย่างการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัด
1. การลงจากเตียง

(1) ขยับตัวลงจากเตียงไปยังด้านเดียวกันกับขาข้างที่ผ่าตัด
(2) เลื่อนสะโพกโดยใช้ข้อศอกช่วยดัน ขณะที่ขยับขาข้างที่ผ่าตัดลงมาข้างๆเตียง พยายามทาให้ลำตัวตรง และห้ามบิดหรือหมุนขาเข้าใน
(3) เคลื่อนขาข้างที่ปกติมาไว้ข้างๆ ขาข้างที่ผ่าตัด และนั่งลงบนขอบเตียง พยายามทาให้ขาข้างที่ผ่าตัดเหยียดตรง จับเครื่องช่วยพยุง 4 ขา (วอล์กเกอร์, Walker) เพื่อช่วยรองรับน้าหนักขณะที่ยืนขึ้น และหลีกเลี่ยงการงอขาหรือพับขาไปด้านหลังในขณะที่พยายามยืนขึ้น

2. การนั่ง

(1) จับวอล์กเกอร์เอาไว้ จนกระทั่งรู้สึกว่า เก้าอี้สัมผัสถูกน่องทั้งสองข้าง
(2) ค่อยปล่อยมือจากวอล์กเกอร์ และย่อตัวลงต่า เคลื่อนมือมาจับพนักเท้าแขนทั้งสองข้าง จากนั้นพยายามทาให้ขาข้างที่ผ่าตัดเหยียดตรง และเหยียดไปข้างหน้า ระวังอย่าให้ปลายเท้าบิดเข้าใน
(3) นั่งลง และขยับตัวไปทางด้านหลังให้ชิดพนักพิง งอขาข้างที่ไม่ได้ผ่านการผ่าตัดก่อน (สามารถใช้เทคนิควิธีนี้สาหรับการใช้โถชักโครกที่มีราวจับได้)

3. การเดิน

(1) วางวอล์กเกอร์ให้ห่างออกไปยังทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าประมาณ 1-2 คืบ จับวอล์กเกอร์ให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง พยายามทาให้ข้อสะโพกตรง
(2) ก้าวเท้าข้างที่ผ่าตัดไปกึ่งกลางของวอล์กเกอร์ หลีกเลี่ยงการหมุนสะโพกและขาโน้มตัวไปข้างหน้า และปล่อยให้วอล์กเกอร์ รับน้าหนักตัวของท่าน
(3) ก้าวเท้าข้างที่ปกติตามไปข้างหน้าอย่างระมัดระวัง ให้ปลายเท้าเสมอกันทั้งสองข้าง พึงระวังอย่าให้เท้าของท่านชนกับปลายขาของเครื่องช่วยพยุงยกวอล์กเกอร์ขึ้นตรงๆ (ถ้าวอล์กเกอร์ไม่มีล้อเลื่อน) ตรวจสอบให้มั่นใจว่าขาทั้งสี่ของวอกเกอร์วางแนบสนิทกับพื้น ทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มก้าวเดินไปข้างหน้า

การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ( Hip-Hemiarthroplasty)